มาตรา 35 (7) ความช่วยเหลืออื่นใด ตามระเบียบมาตรา 35 พ.ศ.2558 (เพิ่มเติม พ.ศ.2560) แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ.2556)
ส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม
ที่ผ่านมา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุน อดีตพนักงานที่เคยทำงานร่วมกับทางบริษัทฯ ต่อมาได้ประสบอุบัติเหตุบนถนนจนกลายเป็นคนพิการรุนแรง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เป็นภาระครอบครัว เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายประจำวันในการดูแลคนพิการในครอบครัว อันเนื่องจากเป็นคนพิการรุนแรงนอนติดเตียง โดยให้ใช้สิทธิ์ตามมาตรา 35 กับผู้ดูแลคนพิการแทน ดังนั้นในปี พ.ศ.2564 ทางผู้บริหารของ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) จึงมีดำริให้ยังคงให้การสนับสนุน อดีตพนักงานที่มีความพิการรุนแรงทั้ง 2 ราย ต่อไปและมีนโยบายที่จะส่งเสริมอาชีพคนพิการ ให้กับพนักงานของบริษัท ที่มีคนพิการอาศัยอยู่ในครอบครัว รวมถึงการพิจารณาให้กับครอบครัวคนพิการอื่นๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งทุกโครงการที่ทางบริษัทฯ สนับสนุน จะต้องถูกต้องตามกฎหมายตามสิทธิมาตรา 35 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ในการส่งเสริมสนับสนุนที่ผ่านมา รูปแบบของอาชีพอิสระหรือธุรกิจนั้น ต้องมีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ ซึ่งได้มีการประเมินแล้วโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาชีพคนพิการ สำหรับที่ผ่านมามี 9 รูปแบบ แต่ในปี พ.ศ.2564 ได้มีการพัฒนาอาชีพคนพิการ รวม 20 รูปแบบ โดยคำนึงถึงประสบการณ์ ความพร้อม ต้นทุนเดิม ของแต่ละครอบครัวของคนพิการ
แนวทางที่บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) จะสนับสนุนส่งเสริมอาชีพทั้ง 20 รูปแบบนั้น ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ที่จะทำให้ผู้ดูแลคนพิการ และครอบครัว สามารถที่จะนำไปประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับบริบทในชุมชน สภาพแวดล้อม และศักยภาพของผู้ใช้สิทธิ์ตามมาตรา 35 จึงทำให้ทางบริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่า จะมีพัฒนาการขึ้นทุกๆ ปี และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสถานประกอบการอื่นๆ ในประเทศไทย และมีความคาดหวังให้คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และครอบครัว มีรายได้ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้จริง อันเป็นเจตนารมย์ของกฎหมายที่ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในประเทศไทย
สำหรับปี พ.ศ.2564 การพิจารณาอาชีพหรือธุรกิจสำหรับครอบครัวคนพิการนั้น จะยังคงสนับสนุนตาม 9 รูปแบบที่ดำเนินการมาตลอด 3 ปี (พ.ศ.2561 - 2563) ที่ได้เคยดำเนินการมาแล้ว และยังเปิดกว้างให้แต่ละครอบครัวคนพิการได้เสนออาชีพหรือธุรกิจ ที่มีความเหมาะสมกับความเป็นอยู่ และมี “ความเป็นไปทางธุรกิจสำหรับครอบครัวคนพิการ” ที่จะทำให้สามารถสร้างรายได้ นำไปเลี้ยงดูคนพิการในครอบครัวได้จริง โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาชีพคนพิการ คอยให้คำ แนะนำ
ปัจจุบันพบว่า คนพิการและผู้ดูแลคนพิการส่วนใหญ่ได้รับการอบรมอาชีพหลากหลายมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี. จากกฎหมายฉบับก่อนหน้าที่มีรูปแบบการสงเคราะห์ พัฒนาเป็นกฎหมายการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชน แต่น่าเสียดายที่คนพิการไม่ได้รับสิทธิที่ควรได้ เพราะมีการทุจริตคอรัปชั่นจากองค์กรเพื่อคนพิการ และทำให้สถานประกอบการทั่วประเทศ ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะต้องมาจ่ายเงินซ้ำสมทบเข้ากองทุนตามมาตรา 34 เนื่องจากไม่ทราบว่าองค์กรเพื่อคนพิการใดบ้างที่เป็นองค์กรที่ทุจริตคอรัปชั่น
แนวคิดสำคัญที่ 1 บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ได้ส่งเสริมอาชีพอิสระโดยตรงกับครอบครัวคนพิการซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวของพนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่มีความยากลำบากในการดำเนินชีวิตเนื่องจากมีคนพิการในครอบครัว แนวคิดนี้ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสถานประกอบการอื่นๆ เป็นโครงการที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งยังสามารถ หาคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมาร่วมโครงการได้อย่างไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอาชีพอิสระต่างๆ มากกว่า 20 รูปแบบ ถึงมือผู้ใช้สิทธิ์ (คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ) อย่างแท้จริง ไม่ผ่านตัวกลางที่มีรูปแบบองค์กรเพื่อคนพิการ ที่อาจทำให้สถานประกอบการเสี่ยงต่อการเกิดการทุจริตโกงสิทธิ์คนพิการอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
แนวคิดสำคัญที่ 2 บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) จะส่งเสริมอาชีพอิสระให้กับครอบครัวคนพิการตามความสมัครใจ ตามความถนัด ทั้งรูปแบบที่มีให้เลือกที่เคยให้การสนับสนุนที่ผ่านมา หรือครอบครัวคนพิการสามารถนำเสนออาชีพอิสระเข้ามาเพราะมีความถนัดและที่มีประสบการณ์ อาชีพที่ถูกเลือกและตัดสินใจลงมือดำเนินการนั้น จะทำให้แต่ละครอบครัวมีรายได้ตามความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว ตัวอย่างเช่น ผู้ดูแลคนพิการที่คนพิการนอนติดเตียง ไม่สะดวกไปทำงานนอกบ้าน จึงมีความประสงค์ประกอบอาชีพเย็บผ้าด้วยจักรอุตสาหกรรมอยู่ที่บ้าน เป็นต้น
ซึ่งการให้การสนับสนุนรูปแบบนี้มีความสำคัญตรงที่ ผู้ดูแลคนพิการมีความรู้ความสามารถเดิมจากการเคยเป็นลูกจ้างในโรงงานเย็บผ้า อีกตัวอย่าง พนักงานมีลูกชายที่พึ่งประสบอุบัติเหตุจนพิการ และต้องคอยดูแลลูกชาย พนักงานจึงตัดสินใจขอรับการช่วยเหลือที่สอดคล้องกับบริบทของครอบครัวตนเอง ด้วยการเลี้ยงปลาดุกและปลาทับทิมที่บ้านเพราะเป็นอาชีพที่ทำที่บ้าน ซึ่งเป็นไปตามหลักการ “ความเป็นไปได้ทางธุรกิจสำหรับครอบครัวคนพิการ” ตามแนวทาง “กระบวนการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืน”
แนวคิดสำคัญที่ 3 บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการ “มาม่าโมเดล” (MAMA model) บนพื้นฐานการไม่ส่งเสริมให้มีการทุจริตสิทธิคนพิการ หรือกระทำผิดกฎหมาย เนื่องจากที่ผ่านมาสถานประกอบการมักประสบปัญหาว่า ไม่สามารถหาคนพิการมาทำงานและไม่สามารถหาคนพิการมาเข้าร่วมโครงการต่างๆ ตามมาตรา 35 ซึ่งมีถึง 7 รูปแบบนี้ ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องไปดำเนินการผ่านองค์กรเพื่อคนพิการ (สมาคม/ มูลนิธิคนพิการ) ที่อาจมีการทุจริตสิทธิคนพิการ และอาจทำให้สถานประกอบการมีความเสี่ยงที่จะต้องจ่ายเงินซ้ำเข้า “กองทุนส่งเสริมฯ คนพิการ” ดังนั้นตามแนวทาง “กระบวนการขจัดปัญหาการทุจริตสิทธิคนพิการอย่างยั่งยืน” จึงจะเป็นการส่งเสริมอาชีพอิสระให้กับครอบครัวคนพิการอย่างแท้จริงเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับสถานประกอบการอื่น
ตามแนวคิดของโครงการหลักเพื่อการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม จะบูรณาการครอบครัวคนพิการได้เคยรับโอกาสจากบริษัทมาก่อน หรืออาจจะยังไม่เคยได้รับโอกาสมาก่อน อย่างเป็นระบบองค์รวม เพื่อความยั่งยืน โดยจะประกอบด้วยอาชีพ จำนวน 20 อาชีพ ดังนี้
โครงการหลักเพื่อการส่งเสริมอาชีพครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม จำนวน 31 ราย มูลค่ารายละ 114,245 บาท มูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,541,595 บาท (สามล้านห้าแสนสี่หมื่นหนึ่งพันห้าร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน) โดยคาดการณ์ในการพิจารณาการให้การสนับสนุนกับกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็นลำดับดังนี้
มาตรา 35 (7) ความช่วยเหลืออื่นใด ตามระเบียบมาตรา 35 พ.ศ.2558 (เพิ่มเติม พ.ศ.2560) แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ.2556)
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ที่กฎหมายการจ้างงานมีผลบังคับใช้ ทางบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องมาโดยตลอด ทั้งในรูปแบบการรับสมัครคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 และในรูปแบบการส่งเสริมสนับสนุนคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และครอบครัวคนพิการ ตามมาตรา 35 ในด้านอาชีพและการมีรายได้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ มาตรา 35 (3) การจ้างเหมาบริการ และการส่งเสริมอาชีพอิสระตามมาตรา 35 (7) ความช่วยเหลือื่นใด โดยระหว่าง ปี พ.ศ.2561-2563 การส่งเสริมอาชีพอิสระ ตามมาตรา 35 (7) นั้นสามารถทำให้ครอบครัวคนพิการมีรายได้ และมีการพัฒนาอาชีพ 9 อาชีพ บนพื้นฐาน “ความเป็นไปได้ทางธุรกิจสำหรับครอบครัวคนพิการ”
สำหรับปี พ.ศ.2564 บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ได้ขยายให้การสนับสนุนด้านอาชีพอิสระ 20 อาชีพ กับ อดีตพนักงานที่ได้รับอุบัติเหตุจนพิการนอนติดเตียง จำนวน 2 ราย และพนักงานปัจจุบัน ที่มีสถานะเป็น “ผู้ดูแลคนพิการ” หรือพนักงานที่มีคนพิการอาศัยร่วมกันในครอบครัว จำนวน 25 ราย ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่ผู้บริหารมีต่อพนักงาน และยังเป็นแนวทางที่ยั่งยืนตามกระบวนการ “การส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวคนพิการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม” เราเรียกชื่อสั้นๆ ของโครงการว่า “มาม่าโมเดล” และยังพิจารณาให้กับครอบครัวคนพิการอื่นที่ถูกละเมิดสิทธิ์หรือมีฐานะยากจน จำนวน 4 ราย รวมจำนวน 31 ราย มูลค่ารายละ 114,245 บาท มูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,541,595 บาท (สามล้านห้าแสนสี่หมื่นหนึ่งพันห้าร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน) โครงการนี้กระจายโครงการไปยัง 14 จังหวัดทั่วประเทศ ตามภูมิลำเนาของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ มีผลสัมฤทธิ์ที่ดี ผู้ใช้สิทธิ์ทราบถึงสิทธิของตนเป็นอย่างดี การประกอบอาชีพได้ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าทุกโครงการ สร้างอาชีพที่ยั่งยืนและปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
สำหรับอาชีพ 20 อาชีพ โดยแบ่งตามการยื่นเรื่องขออนุมัติเห็นชอบโครงการ มีดังนี้ (1) เลี้ยงวัว (2) เลี้ยงวัวและจำหนข่ายสบู่หอม (3) เลี้ยงควาย (4) เลี้ยงหมู (5) เลี้ยงไก่ไข่ (6) เลี้ยงไก่ไข่และไก่บ้าน (7) เลี้ยงไก่พื้นบ้าน (8) เลี้ยงไก่ไข่และปลาดุก (9) เลี้ยงปลาดุกและปลาทับทิม (10) เลี้ยงจิ้งหรีด (11) ร้านค้าปลีก (12) ผลิตและจำหน่าย เบเกอรี่ (13) ร้านกาแฟสดและกาแฟโบราณ (14) ร้านอาหารตามสั่ง (15) จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า (16) เพาะเห็ดและเย็บผ้า (17) บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศและรถยนต์ (18) ผลิตสมุนไพรโบราณ (19) ปลูกมันสำปะหลัง (20) ปลูกยางพารา โดยสรุปข้อมูลผลการดำเนินการตาม “ตารางสรุปรายชื่อพนักงาน และชื่อผู้ใช้สิทธิมาตรา 35 ประจำปี พ.ศ.2564” ดังนี้
ลำดับ | ชื่อพนักงาน | ชื่อผู้ใช้สิทธิ์ | อาชีพ | จังหวัด | คนพิการ/ผดล. |
---|---|---|---|---|---|
1-S | น.ส.ฐิติพร โตหยวก | นายสุริยศักดิ์ โตหยวก | ปลูกมันสำปะหลัง | ฉะเชิงเทรา | คนพิการ |
2-S | นายมนัส จงสงวน | นายมนัส จงสงวน | ร้านค้าปลีก | ชลบุรี | ผู้ดูแลคนพิการ |
3-S | น.ส.จารุวรรณ หลีสู | น.ส.จารุวรรณ หลีสู | ร้านค้าปลีก | ชลบุรี | ผู้ดูแลคนพิการ |
4-S | นางจิตร สมนาค | นางสา สมนาค | เลี้ยงไก่ไข่ | ฉะเชิงเทรา | ผู้ดูแลคนพิการ |
5-S | น.ส.จิราภรณ์ กระวานธง | นายพิสิทธิ์ พรมมี | เลี้ยงวัว | หนองบัวลำภู | คนพิการ |
6-S | น.ส.เบญจวรรณ สุขเสมอ | นางหนูบัง สุขเสมอ | เลี้ยงจิ้งหรีด | อุบลราชธานี | ผู้ดูแลคนพิการ |
7-S | นางสุรีย์ ขวัญเมือง | นายนพรัตน์ ขวัญเมือง | เลี้ยงไก่ไข่ | ชลบุรี | คนพิการ |
8-S | วิจิตรา อัคลา | นางลาวัน ศรีบุรินทร์ | เลี้ยงวัว | ขอนแก่น | ผู้ดูแลคนพิการ |
9-S | น.ส.จันทร์เพ็ญ วรรณเพชร | นางประมวล ดวงคุณ | เลี้ยงวัว, ขายสบู่ | สกลนคร | ผู้ดูแลคนพิการ |
10-L | นางประภาพรรณ อุ่นนันกาศ | นางประภาพรรณ อุ่นนันกาศ | เพาะเห็ด/ เย็บผ้า | ลำพูน | ผู้ดูแลคนพิการ |
11-L | นางเจนจิรา คำมากาศ | นางสาววันดี รัตนะมณี | เลี้ยงไก่พื้นเมือง | ลำพูน | ผู้ดูแลคนพิการ |
12-L | นางเกวลิน ปวนกาศ | นางลำเนาว์ ตุ้ยกาศ | ร้านกาแฟสด | ลำพูน | ผู้ดูแลคนพิการ |
13-L | นางเกษมศรี พรมมินทร์ | นายสี พรหมมินทร์ | เลี้ยงปลาดุก-ทับทิม | ลำพูน | ผู้ดูแลคนพิการ |
14-L | นางสาวอรสา กาปัญญา | นางบัวเจือน กาปัญญา | ร้านค้าปลีก | ลำพูน | ผู้ดูแลคนพิการ |
15-R | น.ส.ดวงใจ เข็มไธสง | นายไกร เข็มไธสง | เลี้ยงไก่ไข่ | บุรีรัมย์ | คนพิการ |
16-R | น.ส.เจนจิรา มีปากดี | นายทองเพชร ทาหนองค้า | เลี้ยงควาย | หนองบัวลำภู | คนพิการ |
17-R | นายสมบัติ กลอนพรมราช | นางสมัคร อู่กระโทก | สมุนไพรโบราณ | นครราชสีมา | ผู้ดูแลคนพิการ |
18-R | น.ส.พรรณิภา คัฒเนตร | นายหนิง คัฒเนตร | เลี้ยงวัว | หนองบัวลำภู | ผู้ดูแลคนพิการ |
19-R | น.ส.อรวรรณ สวัสดี | นางเคือน สวัสดี | เลี้ยงวัว | สุรินทร์ | ผู้ดูแลคนพิการ |
20-R | น.ส.สุวิมล พุฒตาล | นายสุดที พุฒตาล | เลี้ยงวัว | อุบลราชธานี | ผู้ดูแลคนพิการ |
21-B | น.ส.มิ่งขวัญ รอดสู | นางสุรีย์ รอดสู | เลี้ยงไก่ไข่ | ราชบุรี | ผู้ดูแลคนพิการ |
22-B | น.ส.อานิญา รอดหมาด | นายอำนาจ รอดหมาด | เลี้ยงวัว (พื้นบ้าน) | ตรัง | คนพิการ |
23-B | น.ส.จำนงค์ โพธิ์งาม | น.ส.จำนงค์ โพธิ์งาม | บำรุงรักษารถ+แอร์ | ราชบุรี | ผู้ดูแลคนพิการ |
24-B | นางจันทรา สง่าแสง | นายชูชีพ สง่าแสง | ร้านอาหารตามสั่ง | นครปฐม | ผู้ดูแลคนพิการ |
25-B | น.ส.น้ำอ้อย คล้ายแดง | นายเสนาะ คล้ายแดง | เลี้ยงหมู | ราชบุรี | ผู้ดูแลคนพิการ |
26-B | น.ส.ประนอม สุขี | นายณัฐภูมิ เพชรสีเงิน | เลี้ยงไก่ไข่+ปลาดุก | ราชบุรี | ผู้ดูแลคนพิการ |
27-N | อดีตพนักงาน | นางสมมัด คำวรรณะ | ร้านค้าปลีก | น่าน | ผู้ดูแลคนพิการ |
28-K | ค.พิทักษ์สิทธิคนพิการ | นายพินิจพงษ์ สมคำศรี | ร้านค้าปลีก | กาฬสินธุ์ | ผู้ดูแลคนพิการ |
29-K | ค.พิทักษ์สิทธิคนพิการ | นางสาวรินดา ยะระพันธุ์ | เลี้ยงหมู | กาฬสินธุ์ | ผู้ดูแลคนพิการ |
30-K | ค.พิทักษ์สิทธิคนพิการ | นางดวงใจ คงสมของ | เลี้ยงวัว | กาฬสินธุ์ | ผู้ดูแลคนพิการ |
31-K | ค.พิทักษ์สิทธิคนพิการ | นายฉัตรชัย พรหมจันทร์ดา | เครื่องใช้ไฟฟ้า | กาฬสินธุ์ | ผู้ดูแลคนพิการ |
หมายเหตุ: ในช่องลำดับ ตัวอักษรหลังลำดับหมายถึง S = โรงงานศรีราชา, L= โรงงานลำพูน, R = โรงงานระยอง, B = โรงงานบ้านโป่ง, N = จังหวัดน่าน, K = จังหวัดกาฬสินธุ์
สำหรับ ปี พ.ศ.2565 เป็นต้นไป บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) จะยังคงให้ความสำคัญกับ อดีตพนักงาน และพนักงานปัจจุบัน ที่มีคนพิการอาศัยร่วมกันในครอบครัว กลุ่มต่อมาจึงจะพิจารณาคนพิการและครอบครัวคนพิการรายอื่นตามความเหมาะสม โดยจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือสนับสนุน กลุ่มคนพิการยากจนและกลึ่มคนพิการที่ถูกโกงสิทธิมาจากบริษัทอื่น และต้องอยู่บนพื้นฐาน (1) ถูกต้องตามกฎหมาย (2) ตามแนวคิดสำคัญในการบูรณาการด้านอาชีพของครอบครัวคนพิการ โดยมีอาชีพให้เลือกจากปี พ.ศ.2564 ที่ได้ริเริ่มเป็นต้นแบบไว้แล้วจำนวน 20 อาชีพ ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละครอบครัวคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ ที่ยังสามารถเสนออาชีพเพิ่มเติมได้ บริษัทเปิดกว้างให้เสนออาชีพที่มีความถนัด มีความสามารถ อีกทั้งที่ปรึกษาโครงการ ยังคงมีอาชีพใหม่ๆ มาเสนอเพิ่มเติม
ระบบประชุมออนไลน์ของบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ที่สำนักงานใหญ่ อาคารทีเอฟโดยปลายทางเป็นโรงงานผลิตทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วย ศรีราชา ลำพูน ระยอง บ้านโป่ง 1 และบ้านโป่ง 2
คุณสรยุทธ รักษาศรี (ซ้ายเสื้อเขียว) เป็นประธานการประชุมออนไลน์ โดยมี นายปรีดา ลิ้มนนทกุล (กลางเสื้อขาว) เป็นผู้อธิบายการดำเนินการให้พนักงานบริษัทที่ผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการมาม่าโมเดลทราบรายละเอียดการดำเนินการ และมี น.ส.ชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล (ขวาเสื้อขาว) นางฐานิดา อนุอัน (ขวาเสื้อดำ) เข้าร่วมประชุม